เมนู

4. ปฐมทารุขันธสูตร


ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏกับท่อนไม้ลอยน้ำ


[322] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา
แห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง
อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถานภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแส
น่าพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทูลหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
ไม่ถูกน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่ง
ข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไร้ ด้วยประการดัง
กล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[323] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่ง
โน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบกได้แก่อะไร